เทศกาล เชงเม๊ง 清明節

ชิงหมิง (qing-ming, อักษรจีนตัวเต็ม: 清明節, อักษรจีนตัวย่อ: 清明节, พินอิน: Qīngmíngjié) หรือ เช็งเม้ง, เชงเม้ง (ตามสำเนียงแต้จิ๋ว)หรือ “เฉ่งเบ๋ง” (ในสำเนียงฮกเกี้ยน) “เช็ง”หรือ”เฉ่ง” หมายถึง สะอาด บริสุทธิ์ และ “เม้ง”หรือ”เบ๋ง” หมายถึง สว่าง รวมแล้วหมายความถึง ช่วงเวลาแห่งความแจ่มใส รื่นรมย์

เทศกาลเชงเม๊งตรงกับวันที่ 4 ของเดือนเมษายนในปฏิทินจีน เป็นเทศกาลแห่งความแจ่มใสและสว่าง มีการจัดฉลองในประเทศจีนมาหลายพันปีแล้ว แม้ว่าวันนี้จะเป็นวันที่แสดงความเคารพต่อบรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้ว แต่ก็ยังเป็นวันเกี่ยวกับชีวิตและครอบครัวด้วย เชงเม๊งเริ่มต้นขึ้นในฤดูใบไม้ผลิ ซึ่งเป็นช่วงที่อากาศแจ่มใสและสว่าง (เป็นที่มาสำหรับชื่อเทศกาลนี้) เวลานี้เป็นช่วงที่มีผักหญ้ากำลังขึ้น และมีเทศกาลฉลองพระเจ้าเสด็จกลับคืนชีวิต
ที่มาของเทศกาลเชงเม๊ง เกิดจากการที่ประชาชนชาวจีนมีคุณธรรมอันดีงาม ฉะนั้นจึงมีพิธีเซ่นไหว้บรรพบุรุษ และทำความสะอาดฮวงซุ้ย เพื่อแสดงความระลึกถึงบุญคุณของบรรพบุรุษ พิธีกรรมในงานเชงเม๊งยังรวมถึงการอุทิศส่วนกุศลไปยังบรรพบุรุษ โดยการจุดธูปเทียน เผากระดาษเงิน กระดาษทอง เพราะเป็นความเชื่อที่ว่า ผู้ตายนั้นสามารถที่จะนำไปใช้ได้หลังชีวิตการตาย

ขั้นตอนปฏิบัติประเพณีเชงเม๊ง

หลายๆคนอาจยังไม่เคยรู้มาก่อนว่า เช็งเม๊ง นั้นมีวิธีการขั้นตอนและการทำอย่างไร เรารวบรวมมาให้คุณเหล่าลูกหลานทั้งหลาย ให้รู้จักวิธีการการไหว้เช็งเม๊งที่ถูกหลัก ถูกขั้นตอนและถูกตามประเพณี
ขั้นตอนการปฏิบัติของเชงเม้ง

การเตรียมของก่อนการไหว้เช็งเม้ง
ก่อนการไหว้เช็งเม้งต้องเตรียมของดังนี้
1. ไก่ต้มตัวใหญ่ 1 ตัว พร้อมซาแซ ( คำว่า”ซาแซ”หมายถึง ไก่,หมู,ปลาหมึกแห้ง ไว้ในถาดเดียวกัน
2. ข้าว 3 ถ้วย กับข้าว 5 อย่าง
3. ซาลาเปาและขนมแป้งต่างๆ ที่เป็นมงคล
4. ผลไม้ 5 อย่าง ( ส้ม , แอปเปิ้ล , เงาะ , สาลี่ , อง่น )
5. เหล้า 3 ถ้วย
6. นำชา 1 ถ้วย
7. ห่อเสื้อผ้า 1 ชุด
8. กิมจั้ว ( หรือกระดาษทอง ) กี่มัดก้ได้ตามที่ต้องการ
9. ฮวงแซจี้ ( หรือใบนำทาง ) กี่ก้อนก็ได้ตามที่ต้องการ
10. แบงค์ใหญ่ กลาง เล็ก ( หรือเงินกงเต็ก ) กี่ก้อนก็ได้ตามที่ต้องการ
11. ทองแท่งใหญ่เล็กตามี่ต้องการ
12. เทียนไม้ใหญ่ 1 คู่ กลาง 1 คู่
13. นำขวดหรือนำอัดลม
14. หนึ่งเตี๋ย 2 แผ่น
15. ฟัก 2 ลูก แบ่ง 6 ท่อน
16. ประทัดจะใช้กี่นัดตามที่ต้องการ

ตำนานเทศกาลเชงเม๊ง


ที่มาที่ไปของเช็งเม้ง!!

เทศกาลเช็งเม้งเป็นธรรมเนียมการไหว้บรรพบุรุษที่ฮวงซุ้ยในช่วงเดือน 3 ของจีน โดยกำหนดให้ไหว้ภายใน 15 วันแรกของเดือน วันไหนก็ได้ ซึ่งที่เมืองไทยนิยมไปไหว้วันที่ 5 เมษายน แต่บางบ้านก็อาศัยดูวันดี และก็มีอีกหลายบ้านที่อาศัยดูวันสะดวก
ตำนานการไหว้ที่ฮวงซุ้ย มาจากว่า เดือน 3 เป็นช่วงเวลาในฤดูใบไม่ผลิของจีน ต้นไม้ใบหญ้าเขียวชอุ่มสวยงามสมควรแก่การไปชมทิวทัศน์ จึงเกิดเป็นธรรมเนียมไปไหว้บรรพบุรุษที่สุสานแทนการไหว้อยู่ในบ้านแต่ต้องไปไหว้ในช่วงเช้า อย่าให้เลยเวลาเที่ยง เมื่อไปถึงสุสานให้ไหว้เจ้าที่แป๊ะกงด้วยของคาวของหวาน ผลไม้ ขนมอี๊ 5 ที่ 5 ถ้วย เพราะการไหว้เจ้าคือการไหว้ธาตุทั้ง 5
เวลาจุดธูปไหว้ ก็ต้องไหว้ธูป 5 ดอก บางแห่งมีไหว้เจ้าประตู หรือที่เรียกกันว่า ” มึ่ง-ซิ้ง” ก็ต้องไหว้ธูปเพิ่มอีก 2 ดอก ปักที่เสาประตูข้างละดอก จากนั้นจึงเข้าไปไหว้บรรพบุรุษที่หลุม ซึ่งทางสุสานจะปัดกวาดทำความสะอาด ดายหญ้า และกางเต็นท์ไว้ให้ ถ้าเราสั่ง โดยเสียค่าบริการให้ ของไหว้หลุมมี 2 ชุด
ชุดหนึ่งไหว้บรรพบุรุษ อีกชุดหนึ่งไหว้โท้วตี่ซิ้ง คือ เทพยดาผืนดิน ของไหว้บรรพบุรุษมีของคาว ของหวาน ผลไม้ โดยนิยมกันว่าต้องมีขนมไหว้เป็น ” จูชังเปี้ย ” หรือ
” ขนมเปี๊ยะกรอบ ” และมีกับข้าวที่บรรพบุรุษชอบ แถมด้วยอาหารน้ำ 1 อย่าง จะเป็นน้ำแกงหรือขนมอี๊ก็ได้
อย่างไรก็ตามแผ่นดินใหญ่และทำตาม ก็จะเอา ” หอยแครงลวก ” ไปไหว้ด้วย และจะช่วยกันกินหอยแครงตรงฮวงซุ้ยนั่นเอง ส่วนเปลือกหอยที่เหลือจะโปรยไว้บนเนินดิน
นอกจากนี้ก็มีของไหว้เทพยดาผืนดินซึ่งเหมือนของไหว้แป๊ะกง การไหว้บรรพบุรุษที่ฮวงซุ้ย มีธรรมเนียมการเอาสายรุ้งไปแต่งโปรยไว้บนเนินดินเหนือหลุม ถ้าไหว้เป็นปีแรก จะใช้สายรุ้งสีแดงโดยเฉพาะ ปีต่อ ๆ มา จึงเล่นหลายสีได้ การไหว้ต้องไหว้เทพยดาผืนดินก่อน ด้วยธูป 5 ดอก เพราะถือว่าท่านเป็นเทพเจ้าที่
จากนั้นจึงไหว้บรรพบุรุษด้วยธูป 3 ดอก และต้องไหว้ 3 รอบ (เฉพาะบรรพบุรุษ) รอจนไหว้ครั้งที่ 3 แล้ว จึงเผากระดาษเงินกระดาษทอง จากนั้นจึงจุดประทัดส่งท้าย เรื่องธรรมเนียมการจุดประทัดนี้ เข้าใจว่าเพื่อให้เสียงอันดังช่วยขับไล่สิ่งไม่ดี ไม่ให้เข้าใกล้กวนบรรพบุรุษ ยิ่งไปกว่านั้น มีการถือว่า ประทัดยิ่งดังยิ่งดี จะทำให้ลูกหลานยิ่งรวย จากประเพณีพิธีกรรมดังกล่าวล้วนเกิดจากความกตัญญูรู้คุณที่ลูกหลานพึงมีต่อบรรพบุรุษของตนเอง

ประวัติพิธีกรรม!!

คนจีนโบราณใช้วิธีนำศพไปฝังตามชายป่าชาวเขา จนกระทั่งถึงสมัยราชวงศ์เซี่ย ต่อมา เริ่มมีการเอาศพใส่โลงมีพิธีกรรม แล้วจึงนำไปฝัง จนถึงสมัยราชวงศ์โจว ขุนนางชื่อ โจวกงจีต้านเป็นคนแรกที่คิดธรรมเนียมการจัดงานศพที่ต้องทำให้ดีที่สุด ถือเป็นเรื่องสำคัญ
โจวกงจีต้าน ให้ถือเป็นธรรมเนียมเมื่อกษัตริย์สิ้นพระชนม์พระศพให้ใส่โลงที่ทำจากไม้เนื้อแข็ง 4 ชั้น พร้อมใส่เครื่องจำเป็นใช้สอยลงไปด้วย และทำพิธีฝังเมื่อครบ 7 เดือน ระดับเจ้าเมือง โลงศพให้เป็นไม้เนื้อแข็ง 3 ชั้น ฝังเมื่อตายครบ 5 เดือน ระดับขุนนาง ใส่โลงศพไม้เนื้อแข็ง 2 ชั้น ฝังเมื่อตายครบ 3 เดือน ระดับบัณฑิต ใส่โลงไม้เนื้อธรรมดาชั้นเดียว ฝังเมื่อตายครบเดือน
นอกจากนี้ยังได้มีการกำหนดประเพณีการไว้ทุกข์ เช่นการไว้ทุกข์พ่อแม่ต้องนาน 3 ปี และ 3 เดือนแรกลูกหลานต้องกินแต่เข้าต้ม
ส่วนธรรมเนียมการหาฮวงซุ้ยดี ๆ ฝังศพเริ่มเมื่อ สมัย จิ๊นซีฮ่องแต้ โดยทรงเริ่มสร้างฮวงซุ้ย ให้ตัวเองตั้งแต้ทรงเริ่มครองราชย์ มีข้อสังเกตว่า ลักษณะของฮวงซุ้ยจะเป็น แบบ อยู่ใกล้ทำให้สะดวกต่อการไปควบคุมดูแลก่อสร้าง ลูกหลานไปไหว้ง่าย เป็นทำเลดี

พิธีกงเต็กนั้นเริ่มมีตั้งแต่เมื่อใด??

เนื่องจากพิธีกงเต็กเป็นพิธีกรรมที่ทำเพื่อผู้ตายมีกุศลผลบุญมาก ๆ จะได้ไปเกิดบนสวรรค์ ซึ่งเริ่มเผยแพร่เข้ามา ในประเทศจีน เมื่อ พ.ศ. 610 โดยเชื่อกันว่า การสวดมนต์ของพระจีนที่เป็นเพลงมีดนตรีประกอบด้วยก็เข้ามาพร้อมกัน

วิธีการปฏิบัติในเทศกาลเชงเม๊ง

คนจีนยกย่องความกตัญญูกตเวทีบิดามารดาและเอาใจใส่ในพิธีการเคารพอย่างเคร่งครัดซึ่งเห็นอย่างชัดเจนในขนบธรรมเนียมการบวงสรวงบรรพบุรุษ ครั้นโบราณกาลได้กำหนดวันขึ้นสำหรับทำพิธีเคารพศพอย่างกว้างขวางและเพื่อเกียรติยศเหล่าบรรพชน แม้จะมีความแตกต่างในแต่ละครอบครัว พิธีนี้มักทำกันใน 2-3 วันแรกตามลำดับก่อนหลังหรือเอาอย่าง เช็งเม้ง ซึ่งเป็นประเพณียิ่งใหญ่ประเพณีหนึ่งในต้นเดือนเมษายน เดือนซึ่งน้ำแข็งเริ่มละลายและความมีชีวิตชีวาได้กลับมาอีกครั้งในฤดูใบไม้ผลิ ในปี1935รัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนได้กำหนดวันเช็งเม้งขึ้นซึ่งเสมือนเป็นการให้ความสำคัญในการทำพิธีเคารพศพนี้
โดยทั่วไปเทศกาลเช็งเม้งมีการพบปะกันด้วยการทำความสะอาดและไหว้บรรพบุรุษผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว รวมถึงการไหว้ด้วยอาหารและสิ่งของต่อบรรพบุรุษด้วย อาหารที่นำมาไหว้ส่วนมากเป็นหมูย่างจริงๆส่วนสิ่งของนิยมทำจากระดาษ(กระดาษเงินกระดาษทอง)
ที่สามารถทำเป็นรูปแบบต่างๆได้ เช่น เสื้อเชิ้ต เนคไทค์ นาฬิกาข้อมือและเรือด่วน สิ่งต่างๆเหล่านี้จะถูกเผาเพื่อนำไปสู่ผู้ล่วงลับไปแล้ว บ่อยครั้งที่เงินของ ธนาคารนรก จะถูกเผาไปพร้อมกันด้วย เงินเหล่านี้จะไปหลอกล่อวิญญาณร้ายทั้งหลาย ไม่ให้สนใจสินค้าและไปซื้อได้ด้วยตนเองขณะที่เหล่าวิญญาณร้ายกำลังเพลิดเพลินกับเงินนรกสิ่งของที่มีค่าจะผ่านไปถึงบรรพบุรุษอย่างปลอดภัย

อิมกังจั้วยี่ ธนบัตรปรโลก หือแบงค์กงเต๊กเงินทองกระดาษเงินกระดาษทอง

นี่เป็นเรื่องของครอบครัวมีการคาดหวังว่าสมาชิกทั้งหมดจะเดินไปยังที่ตั้งสุสานเป็นเรื่องปกติที่หลายครอบครัวไม่มีที่ตั้งสุสาน กรณีนี้อาจมี ห้องประชุมแห่งความทรงจำ ซึ่งใกล้เคียงกับสุสานที่พบในที่เผาศพ แผ่นโลหะซึ่งมักมีรูปของบุคคลนั้นถูกวางอยู่บนกำแพงสุสาน การเคารพบรรพบุรุษจะเกิดขึ้นที่นี่รวมทั้งอาหารและสิ่งของจะถูกเผาที่นี่ด้วย เช็งเม้งมักเกิดขึ้นที่นอกเมืองโดยเฉพาะอย่างยิ่งในชนบท ไม่มีสิ่งใดผิดปกติในเรื่องนี้ ในอดีตผู้ที่ล่วงลับแล้วจะถูกฝังนอกกำแพงเมือง ดังนั้นการไหว้บรรพบุรุษจึงต้องเดินทางออกนอกเมือง สมาชิกทั้งหมดจะพยายามมารวมตัวกันและไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใดที่เทศกาลนี้สมาชิกจะได้มีโอกาสประกอบภารกิจร่วมกันและจากเหตุผลนี้จำนวนประเพณีอื่นๆจึงเกิดตามมาด้วย
เทศกาลเช็งเม้งเป็นธรรมเนียมการไหว้บรรพบุรุษที่ฮวงซุ้ยในช่วงเดือน 3 ของจีน โดยกำหนดให้ไหว้ภายใน 15 วันแรกของเดือนวันไหนก็ได้ ซึ่งที่เมืองไทยนิยมไปไหว้ในวันที่5 เมษายน เมื่อไปถึงสุสานให้ไหว้ศาลเจ้าที่แป๊ะกงด้วยของคาวของหวาน ผลไม้ ขนมอี๊ 5ที่ 5ถ้วย เพราะการไหว้เจ้าที่คือการไหว้ธาตุทั้ง 5
เวลาจุดธูปไหว้ก็ต้องไหว้ธูป 5 ดอก บางแห่งมีไหว้เจ้าประตูหรือที่เรียกกันว่า มึ่งซิ้ง ก็ต้องไหว้ธูปเพิ่มอีก2ดอก ปักที่เสาประตูข้างละดอก จากนั้นจึงเข้าไปไหว้บรรพบุรุษที่หลุมมี 2 ชุด
ชุดหนึ่งไหว้บรรพบุรุษอีกชุดหนึ่งไหว้โท้วตี่ซิ้ง คือ เทพยาดาผืนดิน ของไหว้บรระบุรุษมีของคาว ของหวาน ผลไม้ โดยนิยมกันว่าต้องมีขนมไหว้เป็น จูชังเปี้ย หรือ ขนมเปี๊ยะกรอบ และมีกับข้าวที่บรรพบุรุษชอบ แถมด้วยอาหารน้ำ 1 อย่าง จะเป็นน้ำแกง หรือขนมอี๊ก็ได้
การไหว้บรรพบุรุษที่ฮวงซุ้ย มีธรรมเนียมการเอาสายรุ้งไปแต่งโปรยไว้บนเนินดินเหนือหลุม ถ้าไหว้เป็นปีแรก จะใช้สายรุ้งสีแดงโดยเฉพาะปีต่อๆ มาจึงเล่นหลายสีได้ แต่มีบางบ้านลูกหลานเอาธงหลายสีไปปักไว้เต็มไปหมด ฟังมาว่าเรื่องการปักธงนี้ หลายบ้านจะถือมากว่าห้ามปักเด็ดขาด เพราะถือว่าการมีของแหลมทิ่มแทงเข้าใส่บนหลุม อาจทำให้หลังคาบ้านบรรพบุรุษในอิมกัง (โลกของคนตาย)รั่วได้ ในการไหว้ต้องไหว้เทพยดาผืนดินก่อนด้วยธูป 5 ดอก เพราะถือว่าท่านเป็นเทพเจ้าที่ จากนั้นจึงไหว้บรรพบุรุษด้วยธูป 3 ดอก และต้องไหว้ 3 รอบ (เฉพาะบรรพบุรุษ) รอจนไหว้ครั้งที่ 3 แล้ว จึงเผากระดาษเงืนกระดาษทอง จากนั้นก็จุดประทัดส่งท้าย เพื่อให้เสียงอันดังช่วยในการขับไล่สิ่งไม่ดีไม่ให้เข้าใกล้กวนบรรพบุรุษของเราแล้วเลยมีการถือกันว่าเพิ่มด้วยว่าประทัดนี้ยิ่งดังยิ่งดีจะทำให้ลูกหลานยิ่งรวย

อาหารผลไม้ 5 อย่าง – โหงวก้วยจูชังเปี้ยหรือขนมเปี๊ยกรอบ ขนมไหว้เทศกาลเชงเม๊ง

การนำอาหารมาวางต่อหน้าหินฝั่งศพ เพื่อเป็นการเซ่นไหว้วิญญาณบรรพบุรุษ ที่ได้ล่วงลับไปแล้ว อาหารส่วนใหญ่ เช่น

1. ไก่นึ่งทั้งตัว
2. ไข่ต้มที่จะทำการเซ่น ต้องอยู่ในเปลือกและทำการผ่าครึ่งโดยทั้งสองชิ้นนั้นจะต้องเท่าๆ กัน
3. หมูย่างที่ทำการหั่นเป็นชิ้น ๆ
4. หมูอบที่ทำการหั่นเป็นชิ้น ๆแต่ยังมีหนังติดอยู่และกรอบ
5. ขนมจีบชนิดต่าง ๆ

อุปกรณ์ที่ต้องใช้จัดวางอยู่เหนืออาหารและอยู่ใกล้กับหินฝั่งศพ

1. ตะเกียบหนึ่งชุด
2. แก้วไวท์แบบจีน 3 แก้ว

ผู้ที่เป็นหัวหน้าครอบครัวนั้นจะทำการรินไวท์ใส่ถ้วยที่ได้ทำการเตรียมไว้นั้นสามครั้งโดยทุกครั้งนั้นเขาจะต้องคำนับต่อหลุมฝั่งศพ สมาชิกแต่ละคนในครอบครัวนั้นจะทำการเคารพสามครั้งต่อหน้าหลุมฝั่งศพ โดยที่มือซ้ายนั้นจะต้องทำการถือถ้วยไวท์ บางครอบครัวนั้นจะทำการรับประทานอาหารร่วมกัน ในหน้าหลุมฝั่งศพนั้น การที่กินอาหารที่ได้ทำการถวายต่อบรรพบุรุษนั้นจะนำมาสู่ความโชคดี
พวงมาลัย

แม้ว่าจะไม่มีการพูดถึงในปัจจุบัน การเดินทางไปยังชนบทจะมีการนำดอกช่อดอกวิลโลมาถักเป็นพวงมาลัยให้ผู้หญิงสาวสวมไว้ที่ศีรษะ เป็นความเชื่อว่าจะทำให้หญิงที่ใส่ดูอ่อนเยาว์ตลอดเวลา มีการกล่าวว่า ผู้หญิงที่ไม่สวมพวงมาลัยดอกวิลโลในวันเช็งเม้งจะแก่ลงในไม่ช้า

ว่าว

ประเพณีอีกอย่างในเทศกาลเช็งเม้งคือการเล่นว่าว เดิมทีคาดว่ามาจากช่วงฤดูใบไม้ร่วง เริ่มมีอยู่ว่ากองซูบานสร้างนกไม้ขึ้นเพื่อบินเหมือนว่าวเหนือเมืองหลวงในราชวงศ์ซ้องเพื่อที่จะสำรวจเมือง ว่าวเคยนำคนลอยขึ้นจากพื้นดินโดยราชวงศ์จีนตะวันตำ กระดาษนำมาใช้แทนไม้
ในราชวงศ์ที่ห้า มีสิ่งใหม่นำมาใช้ทำว่าวนั่นคือกระบอกไม้ไผ่โดยฝีมือของลียี่เมื่อลมพัดผ่านในกระบอกมันจะเกิดเสียงคล้ายกับเครื่องดนตรีชาวจีนเรียกว่า เซียงจากตอนนั้นชาวจีนจึงเรียกว่าวว่า เฟงเซียง เครื่องดนตรีลม
เช็งเม้งเป็นเทศกาลว่าวบินและในหลายๆ สถานที่มีการจัดเทศกาลแข่งขันว่าวขึ้นทั้งประเภทเดี่ยวและประเภทกลุ่มมาขับเดี่ยวกันเพื่อสร้างว่าวจินตนาการ

พิธีกรรมกงเต็ก

” กงเต็ก หมายถึง การที่ลูกหลานทำบุญกุศล ทั้งทำแทนตัวผู้ตายและทำให้ผู้ตายด้วย เพื่อให้ผู้ตายได้กุศลผลบุญมาก ๆ และมากพอที่จะไปขึ้นสวรรค์สุขาวดีขององค์อมิตาภพระพุทธเจ้า ”

พิธีกรรมงานกงเต็กจะแบ่งออกเป็น 3 ช่วงเวลา เช้า-บ่าย-ค่ำ
โดยทางวัดจีนส่งคนมาจัดสถานที่และเตรียมสิ่งของตั้งแต่เช้าตรู่ ก่อนเริ่มพิธี ลูกหลานจะจัดเอากระดาษทอง ใส่ในบรรดาของกงเต็กชนิดต่าง ๆ ให้มากที่สุด โดยช่วยเตรียมของกงเต็กนี้ พระจีนจะเป็นผู้เขียน “ใบส่งของ” ให้เหมือนเป็นการจ่าหน้าซองจดหมาย เพื่อให้รู้ว่า ผู้รับของคือใคร ผู้ส่งคือใคร และจะต้องปิดบนของกงเต็กทุกชิ้น นอกจากนี้ลูกหลานต้องเอาเสื้อของผู้ตายที่ผู้ตายชอบมากที่สุด นำมาตัดเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยเพื่อแปะติดไปกับของทุกชิ้นด้วย เพื่อผู้ตายจะได้รู้ว่ากองของกงเต็กที่เผาไปนี้เป็นของท่าน จากนั้นพระจะประจำที่เพื่อเริ่มพิธีสวดมนต์ ลูกหลานจะใส่ชุดกระสอบเต็มชุดใหญ่ ลูกชายน่งหน้าสุด ลูกสะใภ้ลูกสาวนั่งแถวสอง ชั้นเขยและชั้นหลานนั่งแถวหลังตามมา
พิธีเริ่มด้วยการเปิดกลอง 3 ตูมดัง ๆ ปี่พาทย์บรรเลง รับพระสวด เพื่อสวดเชิญพระลงมา ให้บังเกิดความศักดิ์สิทธิ์และเป็นสิริมงคล
พิธีต่อมามักกระทำกันตอนบ่าย คือ การเชิญวิญญาณผู้ตายมาร่วมพิธี โดยจะเชิญให้ดวงวิญญาณ หนึ่งสถิตที่โคมวิญญาณ ดวงหนึ่งสถิตที่รูป ต่อมาลูกหลานจะไปนำขึ้นหิ้งบูชาที่บ้าน อีกดวงสถิตอยู่ที่โลงศพ
การทำพิธีส่งคนใช้ พระจะเรียกสะใภ้ใหญ่ ถ้าไม่มีก็ลูกสาวไปพูที่ตุ๊กตาชายว่า “….(เรียกชื่อตุ๊กตา)….ใช้ให้ไปทำอะไรต้องไปทำนะ” ว่าแล้วก็เอาธูปที่ติดไฟแดง ๆ จิ้มที่ติ่งหูตุ๊กตาหนึ่งที แล้วทำอย่างเดียวกันที่ต๊กตาคนใช้ผู้หญิง ก็อันเป็นจบพิธีกรรม

ตอนที่วิญญาณต้องอาบน้ำ พระก็จะไปพรมที่ห้องน้ำกงเต็ก ช่วงใกล้ ๆ จบก็เป็นการไหว้อาหาร ขนม และผลไม้ให้ผู้ตาย
เมื่อเสร็จพิธี ลูกสะใภ้จะถูกตามตัวให้ยกอ่างน้ำในห้องน้ำกงเต็กไปเททิ้งตามธรรมเนียม
ช่วงบ่ายแก่ ๆ ต้องทำการไหว้อาหารให้บรรพบุรุษ ตามด้วยการไหว้กระดาษเงินกระดาษทอง
เสร็จการไหว้บรรพบุรุษจะเป็นพิธี “ซึงกิมซัว” เพื่อให้ลูกหลานรุ่งเรือง ก่อนจะถึงพิธีกรรมการพาข้ามสะพานกงเต็กไปไหว้พระพุทธในแดนสวรรค์
พิธีกรรมข้ามสะพานของลูกหลาน คือการที่พระพาดวงวิญญาณมาส่งยังเขคแดนสวรรค์ จะแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือช่วงข้ามไปและช่วงข้ามกลับ ช่วงแรกจะเป็นการพา ดวงวิญญาณข้ามไปส่งแดนสวรรค์ จากนั้นขบวนพระก็จะพาขบวนลูกหลานข้ามกลับมายังโลกมนุษย์
เสร็จพิธี ลูกหลานจะกราบหน้าศพ 4 ครั้ง แล้วหามหีบเสื้อผ้ากับโคมวิญญาณเพื่อนำไปเผา

การเปลี่ยนแปลงของการปฏิบัติในเทศกาลเชงเม๊ง

ในปัจจุบันการรักษาและปฏิบัติขนบธรรมเนียมประเพณีให้ควบคู่ไปกับการปรับตัวให้เข้ากับแต่ละยุคสมัยได้นั้นย่อมพบกับสิ่งแตกต่างระหว่างอดีตกับปัจจุบันแน่นอนซึ่งเทศกาลเชงเม้งที่ศึกษานี้ ในปัจจุบันปัญหาที่พบและเป็นอุปสรรคสำคัญนั้นเห็นจะมีอยู่ 2 กรณีคือ 1.ปัญหาทางเศรษฐกิจ 2.ปัญหาทางด้านที่ดิน ซึ่ง 2 สิ่งนี้ได้ส่งผลกระทบต่อวิธีปฏิบัติของเทศกาลเชงเม้งอย่างเห็นได้ชัด ดังเช่น ในการที่จะจัดของไหว้ในอดีตนั้นจะต้องจัดของไหว้ให้มีจำนวนชุดเท่ากับจำนวนที่ ที่จะไปไหว้ซึ่งจะเป็นการฟุ่มเฟือย ในปัจจุบันจึงมีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับปัญหาทางเศรษฐกิจ โดยให้เหมาะสมและต้องให้สอดคล้องกับกับขนบธนมเนียมประเพณีซึ่งอาจแก้โดยทำอาหารไปไหว้เพียงชุดเดียว แต่ไหว้หลายที่หรือไหว้รวมกันหลายครอบครัว เป็นต้น หรือในการฝังศพ ในอดีตนั้นจะต้องมีการดูที่ทางให้ถูกต้องตามหลัก ฮวงจุ้ยคือด้านหน้าต้องมีแม่น้ำ ด้านหลังต้องมีภูเขาซึ่งวัตถุประสงค์ของการทำเช่นนี้อาจจะเป็นที่การที่บริเวณตีนเขานั้นอาจจะป้องกันน้ำท่วมได้ และ ดานหน้าเป็นแม่น้ำนั้นอาจจะทำให้การคมนาคมสะดวกไปมาง่ายแต่ในปัจจุบันนั้นการที่จะหาที่แบบนี้ได้เป็นการยากหรืออาจจะมีอยู่น้อยการที่จะแก้ปัญหานี้ได้นั้นอาจจะฝังหรือบรรจุกระดูกรวมกันโดยทำในสื่งที่เรียกว่า คอนโด ซึ่งจะใช้เนื้อที่ได้อย่างคุ้มค่าซึ่งก็ยังถูกตามหลักฮวงจุ้ยเพียงแต่ฝังรวมกันให้ประหยัดเนื้อที่ ซึ่งการแก้ปัญหาดังกล่าวนั้นก็หาใช่ว่าจะผิดหลักประเพณีไม่เพราะถ้าพิจารณาในจุดประสงค์ของการกระทำเช่นนี้ก็ไม่ได้ผิดจุดประสงค์ของการทำเทศกาลเชงเม้งเลยเพียงแต่ปรับให้เหมาะสมกับยุคสมัยแต่วัตถุประสงค์ยังเหมือนเดิมซึ่งในอนาคตปัญหาดังกล่าวอาจจะคลี่คลายลงและการปฏิบัติแบบเดิมที่ทำในอดีตอาจกลับมาทำใหม่อีกครั้งก็เป็นได้หรืออาจจะเปลี่ยนแปลงไปเลยโดยไม่ปฏิบัติแบบเดิมอีกก็เป็นได้ซึ่งเป็นสิ่งที่คาดไม่ได้หรือในอนาคตปัญหา 2 สิ่งข้างต้นอาจจะไม่ใช่ปัญหาที่สำคัญอีกก็เป็นได้แต่ปัญหาในด้านของบุคคลซึ่งถ้าในอนาคตนั้นลูกหลานไม่มีความคิดที่จะมีความกตัญญูหรือไม่คิดถึงความสำคัญของบรรพบุรุษเทศกาลเชงเม้งอาจจะสูญหายไปก็เป็นได้เพราะถ้ามองให้ลึกลงไปจะพบว่าเหตุที่มีคนปฏิบัติเทศกาลเชงเม้งเพราะคนเรานั้นมีความกตัญญู รู้คุณคนซึ่งแสดงความเคารพออกมาในเทศกาลเชงเม้ง หรือสาเหตุอื่นอาจจะมาจากการที่คนมีความรู้ในด้านวิทยาศาสตร์อาจจะคิดว่า ความเชื่อที่ว่าการแสดงความเคารพต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วนั้นจะทำให้ชีวิตมีความสุขและเจริญรุ่งเรืองนั้นอาจจะไม่เป็นจริง ก็เป็นได้

Cr.http://www.chulapijarn.sgcu.chula.ac.th/chingming/index.html

https://goo.gl/6cN4Tu