สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
Taksinชาวจีนโพ้นทะเลที่ย้ายถิ่นฐานจากประเทศจีน มาพำนักอยู่แถบเอเชียอาคเนย์มากที่สุด โดยเฉพาะประเทศไทย คนจีนอาศัยอยู่ในประเทศส่วนใหญ่เป็นคนแต้จิ๋ว มากถึง 80% โดยประมาณคนแต้จิ๋วที่มาพึ่งพระบรมโพธิสมภารในประเทศไทย ส่วนมากโดยสารเรือหัวแดงมาจากเจียงลิ้มกั้ง อำเภอเถ่งไฮ่ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ก่อนที่จะลงเรือหัวแดงมาจากบ้านเกิดเมืองนอนมาประเทศไทย ตนเองและสมาชิกในครอบครัวต้องไปเซ่นไหว้ศาลเจ้าม่าโจ้ว (ตั้งอยู่ที่ริมฝั่งน้ำเจียงลิ้ม) เสียก่อน เพื่อขอพระคุ้มครองการเดินทางปลอดภัยถึงจุดหมายปลายทางโดยสวัสดิภาพ มีตำนานเล่ากันว่า เจ้าแม่เทียงโหวเป็นกุลธิดาคนสุดท้องของลิ้มง้วน ซึ่งอาศัยอยู่ที่อำเภอโผชั้ง มณฑลฮกเกี้ยน มีชื่อเรียกกันว่าม้อ หลังจากสิ้นบุญแล้วจุติเป็นเทพธิดาบนสรวงสวรรค์ ชอบใส่เสื้อสีแดง มีจิตเมตตากรุณา ช่วยชีวิตผู้ประสบภัยทางทะเลมากต่อมาก เริ่มตั้งแต่ราชวงค์ซ้ง ผู้สัญจรไปมาจากทางทะเลต้องไปนมัสการเจ้าแม่เทียงโหว ด้วยความศรัทธาเสียก่อน แม้กาลเวลาผ่านมาช้านานก็ตาม ชาวบ้านที่เจียงลิ้มกั้งยังอนุรักษ์ศาลเจ้าม่าโจ้ว ที่สร้างในรัชสมัยเฉียงหลงราชวงค์เช็งไว้เหมือนเดิมทุกประการ และมีการจารึกประวัติการสร้างไว้ในศาลเจ้าอีกด้วย
เมื่อ 200 ปีก่อน ซัวเถายังเป็นหมู่บ้านการประมงเล็กๆอยู่นั้น เจียงลิ้มกั้งเป็นท่าเรือแห่งเดียวเท่านั้นที่จะโดยสารเรือออกสู่ทะเล ชาวจีนที่จะเดินทางไปต่างประเทศส่วนมากมาลงเรือกลไปต่างชาติเข้าแทนที่ ดังนั้น เจียงลิ้มกั้งก็ค่อย ๆ เงียบเหงาไปโดยปริยาย
สมัยต้นราชวงค์เช็ง คนแต้จิ๋วที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทยมีคนแซ่แต้คนหนึ่ง ท่านผู้นั้ส่งผลให้ประวัติศาสตร์ไทยเกิดการเปลี่ยนแปบงอย่างใหญ่หลวง ท่านคือบิดาของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชผู้สถาปนากรุงธนบุรีนั่นเอง
บิดาของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชชื่อว่า แต้ย้ง (ไฮ้ฮง) เป็นคนหมู่บ้านฮัวปู่ อำเภอเถ่งไฮ้ได้โดยสารเรือหัวแดงมาอยู่ประเทศไทยเมื่อรับสมัยยงเจื่ย เริ่มแรกค้าขายเล็ก ๆ น้อย ๆ ต่อมาค่อย ๆ ร่ำรวยขึ้น แต่งงานกับสาวไทยชื่อ นกเอี้ยง ให้กำเนิดบุชายชื่อ ตากสิน ครั้นเติบโตขึ้นบิดาได้ยกให้ พระยาจักรี ขุนนางผู้ใหญ่ราชวงศ์ไทย เป็นบุตรบุญธรรมเนื่องจากทั้งสองเป็นเพื่อนบ้านกัน ทั้งยังเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของเจ้าพระยาจักรี ประจวบกับเจ้าพระยาจักรีไม่มีทายาท อีกประการหนึ่งแต้ย้งตระหนักถึงอนาคตของบุตรชายจึงยินดีให้ขุนคลังช่วยอุปการะ ต่อมาไม่นานแต้ย้งถึงแก่กรรม
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเล่าเรียนหนังสือในวัดเมื่อวัยเด็ก รู้ทั้งภาษาไทย ภาษาจีน ภาษาเวียดนาม และภาษาบาลี พระองค์ท่านเป็นมหาดเล็กเมื่อพระชนมายุเพียง 13 พระชนมพรรษา ครั้นพระชนมายุได้ 24 พระชนมพรรษาเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดตากทางภาคเหนือ พ.ศ. 2310 (ค.ศ. 1767) พม่าเข้าโจมตีกรุงศรีอยุธยาแตกพ่าย สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงนำนักรบไทยและจีนฝ่าวงล้อมออกมาได้ มุ่งหน้าไปตั้งหลักที่ระยองและจันทบุรี ซ่องสุมผู้คน ฝึกทหารอย่างมุ่งมั่น ในที่สุดยกทัพไปโจมตีจนศัตรูพ่ายแพ้กลับไป ประเทศไทยจึงได้อธิปไตยคืนมาและได้สถาปนาราชวงค์กรุงธนบรีขึ้น ซึ่งเป็นวีรบุรุษชนชาติไทยที่มีเกียรติประวัติอันเลื่องลือทั่วปฐพี
ปัจจุบัน ได้สร้างพระอนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมาหาราชทรงบนหลังม้า ประดิษฐาน ณ วงเวียนใหญ่ ธนบุรี วันที่ 28 ธันวาคมของทุกปีซึ่งเป็นวันรำลึกการขึ้นครองราชย์ของพระองค์ ประชาชนชาวไทยและชาวจีนพร้อมใจกัน ประกอบพิธีสักการระรำลึกในพระปรีชาสามารถ และพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น
บ้านเกิดของบิดาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชที่หมู่บ้านฮัวปู่ อำเภอเถ่งไฮ่ ปัจจุบันยังเก็บรักษาเกียรติประวัติอันล้ำค่า ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชไว้เป็นอย่างดี อาทิ เดชะบรรพปูชานุสรณ์สถานและสุสานชุดฉลองพระองค์พร้อมพระมาลาที่ประดิษฐาน ณ ชานเมือง ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และเลื่อมใสของบุคคลทั่วไป มีผู้คนเยี่ยมชมและกราบไหว้โดยไม่ขาดสาย
หลายปีมานี้ ชาวจีนโพ้นทะเลและชาวไทยเชื่อสายจีนในประเทศ ต่างพากันข้ามน้ำข้ามทะเลไปเยี่ยมชม และสักการะสุสานชุดฉลองพระองค์พร้อมพระมาลา ด้วยความเลื่อมใสที่หมู่บ้านฮัวปู่ อำเภอเถ่งไฮ้ เพื่อรำลึกในพระปรีชาสามารถและพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น
หากเรายืนอยู่บนสะพานรัชกาลที่ 1 แล้วมองไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของแม่น้ำเจ้าพระยา เราจะเห็นเจดีย์องค์หนึ่งที่สูงใหญ่ตั้งตระหง่านอยู่ริมแม่น้ำ แต่ก่อนเราเรียกวัดแจ้ง ปัจจุบันเราเปลี่ยนชื่อเป็นวัดอรุณ (ชาวจีนเรียกว่าวัดสมเด็จพระเจ้าตากสิน) วัดแห่งนี้มีตำนานเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ไทยอย่างลึกซึ้ง
Arun Templeตำนานวัดอรุณได้จารึกไว้ในประวัติศาสตร์ไทย เป็นวัดที่สร้างขึ้นในราชวงค์กรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อว่าวัดมะกอก หลังจากสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช นำนักรบผู้รักชาติไปสมทบตีทหารพม่าที่ยึดครองกรุงศรีอยุธยาอยู่ จนพ่ายแพ้โดยสิ้นเชิง ประเทศไทยจึงได้รับอธิปไตยคืนมาอีกครั้งหนึ่ง เป็นประเทศที่มีเอกราชโดยสมบรูณ์ ด้วยเหตุนี้ เหล่าทหารหาญทั้งหลายจึงทูลเกล้าฯถวายพระสมัญญามหาราช เทิดทูนพระองค์ท่านเป็นสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมื่อพระองค์ทรงสถาปนาขึ้นครองราชย์แล้วทรงวินิจฉัยโดยถ่องแท้จนเข้าพระทัยว่า ภูมิประเทศของกรุงศรีอยุธยามีจุดอ่อนต่อการป้องกันการบุกรุกของข้าศึก จึงมีพระกระแสรับสั่งให้ขุนนางผู้ใหญ่เฝ้าประชุมหารือข้าราชการ ในที่สุดเห็นฟ้องต้องกันว่าควรย้ายเมืองหลวง จึงจะสามารถพัฒนาประเทศไทยให้เจริญรุ่งเรืองได้ ดังนั้น สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จึงทรงมีพระบัญชาให้ล่องเรือไปตามลำน้ำเจ้าพระยามุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตก ทรงได้สาบานไว้ว่าหากแม้เรือที่ประทับแล่นไปรุงสางที่ใดก็ตามจะสร้างเมืองหลาง ณ ที่นั้น ในที่สุดเรือแล่นไปได้หนึ่งคือน เรือที่ประทับไปรุ่งสางที่วัดมะกอกพอดี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงเข้าพระทัยว่าเป็นนิมิตหมายที่เป็นสิริมงคล จึงทรงมีพระบัญชาให้จอดเรือพระที่นั้งที่วัดนี้ แล้วเสด็จพระราชดำเนินขึ้นไปนมัสการวัดมะกอก จากนั้นก็ประทับอยู่ที่ห้องพระใกล้กับตันโพธิ์
วัดมะกอกเป็นวัดเก่าแก่ แต่ไม่มีประวัติหลักฐานอะไรบ่งบอกสร้างขึ้นเมื่อใด ใครเป็นผู้สร้าง ดูตามศิลปะและสถาปัตยกรรมแล้วเชื่อว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา ก่อนราชวงค์สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ประมาณระหว่าง พ.ศ. 2099 ถึง 2131 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงมีพระบัญชาให้บูรณะวัดมะกอกเสียใหม่ เปลี่ยนชื่อเรียกว่า วัดแจ้ง (หมายถึงอรุณร่ง และทรงมีพระบัญชาให้สร้างพระราชวงขึ้นภายในบริเวณวัด มีทั้งป้อมปราการและกำแพงล้อมรอบ ให้ชื่อว่าป้อมปราการวิชัยประสิทธิ์ เนื่องจากวัดแจ้งอยู่ติดกับกำแพงป้อมปราการวิชัยประสิทธิ์ จึงให้ชื่อวัดแจ้งเป็นบริวารส่วนหนค่งในเขตพระราชฐานป้อมปราการวิชัยประสิทธิ์ แต่ปัจจุบันชาวจีนในประเทศไทยชอบเรียนวัดเก่าแก่นี้วา วัดสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช